อาหารจิ๋ว

สำหรับบางท่านอาจจะสงสัยว่า “แล้วขนาดสินค้าที่แจ้งไว้นี้มันสเกลเท่าไหร่?”
ตามตัวอย่างในภาพ ชามมีขนาดความกว้างปากชาม 2.3 ซม. (หรือ 23 มม.)
หลักคิดง่ายๆว่ามันจะเป็นสเกลใดได้บ้างก็โดยการทดลองสมมุติขึ้นมาก่อน เช่นถ้าเป็นสเกล 1:8
แสดงว่าชามจิ๋วขนาด 2.3 ซม. ชามของจริงก็จะมีขนาด 2.3 x 8 = 18.4 ซม. ซึ่งก็เป็นไปได้เพราะชามไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไป
และตามท้องตลาดก็มีขายและสัดส่วนผลไม้ที่อยู่ในชามจิ๋วก็ได้สัดส่วนเหมาะสม

แต่ถ้าสมมุติว่าชามจิ๋วนี้เป็นสเกล 1:12 บ้าง ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร
ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือชามของจริงจะมีขนาด 2.3 x 12 = 27.6 ซม. ซึ่งใหญ่ประมาณบาตรพระ !!!! ก็แปลว่าชามจิ๋วนี้ ใช้ไม่ได้ กับสเกล 1:12
ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงชามเซรามิกจะทำขนาดใหญ่เล็กแค่ไหนก็ได้ไม่มีค่าตายตัว แต่ขนาดของผลไม้มีขนาดค่อนข้างตายตัว
จะเล็กใหญ่ต่างกันบ้างก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

สรุปก็คือ วัดขนาดของจิ๋ว (ในทุกมิติทั้ง กว้าง ยาว สูง) แล้วคูณด้วย ขนาดสเกล (คูณเข้าไปในทุกมิติ)
แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปเทียบกับของที่มีอยู่จริง (กว้างเทียบกับกว้าง ยาวเทียบกับยาว และสูงเทียบกับสูง)
ว่าใกล้เคียงกันหรือไม่ (โดยอาจยึดเอามิติใดมิติหนึ่งเป็นเกณฑ์อย่างเดียวก็ได้)
ถ้าเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมากๆก็แสดงว่าใช้ได้กับสเกลดังกล่าว แต่ถ้าแตกต่างกันมากก็ต้องลองกับสเกลอื่นๆต่อไป

อีกตัวอย่างหนึ่งสำหรับท่านที่เล่นตุ๊กตาและต้องการหาอุปกรณ์เพื่อให้ได้สัดส่วนกับตุ๊กตาที่มีอยู่ก็มีหลักคิดไม่ต่างกัน
กล่าวคือให้วัดขนาดความสูงของตุ๊กตา (ถ้ารู้สเกลจากผู้ผลิตแล้วก็สามารถไปใช้หลักการข้างต้นได้เลย)
เช่นมีตุ๊กตาผู้หญิง (วัยรุ่นใสๆ) วัดความสูงได้ 13 ซม. ถ้าสมมุติว่าตุ๊กตานี้เป็นสเกล 1:12
แสดงว่าของจริงผู้หญิงคนนี้จะสูง 13 x 12 = 156 ซม. ซึ่งก็เป็นไปได้ แสดงว่าอุปกรณ์ที่จะต้องหามาใช้เล่นกับตุ๊กตาตัวนี้
ก็ต้องเป็นสเกล 1:12 เหมือนกัน
แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าตุ๊กตาที่สเกล 1:12 จะมีความสูง 13 ซม. ทั้งหมดเพราะขึ้นกับเพศและวัยด้วย
เช่นถ้าเป็นตุ๊กตาผู้ชาย ความสูงตุ๊กตาอาจจะเป็น 15 ซม. นั่นคือความสูงของผู้ชายตัวเป็นๆก็จะสูง 15×12 = 180 ซม.
ซึ่งก็เป็นไซซ์ฝรั่งอย่างนี้เป็นต้น

Showing all 122 results